>>Banner Link<<
 
หน้าหลัก
เกี่ยวกับศูนย์อาเซียนศึกษา
โครงสร้างการบริหารงานของศูนย์ฯ
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ
ที่ปรึกษาของศูนย์ฯ
 
การก่อตั้งอาเซียน : กำเนิดแห่งความร่วมมือ 

    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือน
กรกฎาคม พ.ศ. 2504  โดย ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia
ขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผัน
ทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย

   ในช่วงทศวรรษ 2500 ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ได้แพร่เข้า
มาสู่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความกังวลทางด้าน
เสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจ ประกอบกับประเทศมหาอำนาจ
เริ่มไม่สนับสนุนให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร ทำให้ประเทศในกลุ่มหันมาหา
ความร่วมมือซึ่งกันและกันและได้มีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ขึ้นในภูมิภาค “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จึงได้
จัดตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก
ก่อตั้ง 5 ประเทศได้แก่ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ สิงค-
โปร์
ได้ร่วมลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ”(Bangkok Declaration) หรือที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ที่พระราชวัง
สราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
ความเข้าใจอันดีระหว่างกันในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และ
ความมั่นคง ทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒ-
นาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค
และผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก

     ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม  
2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม
2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23
กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540)
ราชอาณาจักรกัมพูชา(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับ
ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   

     เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย  

1. นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
2. นายตุน อับดุล ราชัก บินฮุสเซน(รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม
และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3. นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4. นายเอส ราชารัตนัม(รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
5. พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)



    
     วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียนตามปฏิญญากรุงเทพฯ
      
     ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้ง
อาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรม
ในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย
และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า
ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ
ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   และองค์การระหว่างประเทศ

 
สำนักเลขาธิการอาเซียนย
กระทรวงการต่างประเทศ
BIC
สมาคมอาเซียนประเทศไทย
 
     
     
     
     
     
     
     
         
 

ข้อมูลทั่วไป
ความเป็นมา
ประชาคมอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
อาเซียน +3
   
     
     
     
     
     
     
     
     
     
 
ราชอาณาจักรไทย
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐสิงคโปร์
มาเลเซีย
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
บรูไน ดารุสซาลาม
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
   
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
       
 
เพลงประจำอาเซียน
เอกสารอาเซียน
เว็บไซต์ของอาเซียน
วีดีโอ
คำศัพท์อาเซียน