กลับสู่หน้าหลัก
 
อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
คลังข้อมูลพฤกษศาสตร์
wikibotany
บล็อกพันธุ์พรรณไม้
 
 

   ปัจจัยเป้าหมายเฉพาะ   :  5  องค์ประกอบของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
   1. ทำป้ายชื่อพรรณไม้  2. ปลูกพรรณไม้เพิ่ม  3. การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ  4. การรายงานผลการเรียนรู้  
   5. การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

   ปัจจัยที่ใช้เพื่อช่วยในการศึกษา
  1. วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  1.1 อาคารต่างๆ 1.2 พรรณไม้ในโรงเรียน 1.3 กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์   Internet
  และ เครื่องพิมพ์ 1.4 หนังสือ  หรือตำรา  เอกสาร  1.5 ใบงานการศึกษาพืช   1.6 ใบงานบูรณาการรายวิชา
  1.7 ใบงานค่ายบูรณาการวิชาการ 1.8 กระดาษทำป้าย    พลาสติกเคลือบป้าย   และเครื่องเคลือบป้าย  
  1.9. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตร  10.1 เครื่องเขียน  เช่น  ปากกา  ดินสอ  สีสำหรับวาดภาพ  
  กระดาษ   ไม้บรรทัด  เป็นต้น 1.11  เชือกสำหรับใช้วัดพื้นที่ตลับเมตร   1.12  วัสดุ/อุปกรณ์สำหรับจัดทำพันธุ์
  ไม้แห้ง และดอง 1.13  พันธุ์ไม้ทั้งที่มีอยู่เดิมและพันธุ์ไม้ปลูกใหม่ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ   เช่น              
  แสงแดด  น้ำ หรือ ความชื้น เป็นต้น

  1.  การจัดการการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการ   ได้ดำเนินการแต่งตั้งหัวหน้างาน และผู้ประสานงาน
  โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ่วมประชุมปรึกษาหารือกับผู้บริหารและฝ่ายบริหารเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
   อย่างมีระบบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น  และได้มีการวางแผนการดำเนินงาน จัดทำโครงการงาน
   สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  เป็นงานต่อเนื่องตามแผนงานพัฒนาผู้เรียน  จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการ
   ในแต่ละปีการศึกษา และแต่งตั้งคณะดำเนินงานด้านต่างๆ  เพื่อดำเนินงานตามโครงการและประสานงาน
   กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ โดยมีการแต่งตั้งทุกปีการศึกษา  ประกอบด้วยดังนี้

  1.1 คณะกรรมการอำนวยการ
   1.1.1 ผู้อำนวยการ  เป็นประธานที่ปรึกษา
   1.1.2 รองผู้อำนวยการ  เป็นรองประธานที่ปรึกษา
   1.1.3 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ  เป็นประธานคณะกรรมการ 
   1.1.4 หัวกลุ่มสาระ  8  กลุ่มสาระ  เป็นคณะกรรมการ
   1.1.5 หัวหน้าโครงการฯ   เป็นกรรมการและเลขานุการ

  1.2 คณะอนุกรรมการดำเนินงาน
   1.2.1 ประธานคณะอนุกรรมการ
   1.2.2 รองประธานคณะอนุกรรมการ
   1.2.3 คณะอนุกรรมการ
   1.2.4 อนุกรรมการและเลขานุการ

  2. จัดประชุมคณะกรรมการหรือประสานงานกับฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   2.1.1 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ตามโครง และแผนการดำเนิน
   2.1.2 ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงาน  เพื่อชี้แจงวิธีการดำเนินและมอบหมายงานให้รับผิดชอบ

  3. การจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้กับผู้เรียน 5 องค์ประกอบ ครู – อาจารย์  ผู้สอน เป็นผู้รับผิดชอบ
   หรือ ที่ปรึกษา โดยศึกษาเป็นรายบุคคลหรือแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ  5 - 6  คน  หรือเป็นหมู่คณะ เพื่อ
   ศึกษา
ดังนี้
   3.1. องค์ประกอบที่   1  การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้    
      3.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6   ทำป้ายชื่อพรรณไม้แบบสมบูรณ์
      3.1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 , 5   เก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และพรรณไม้ดอง

   3.2  องค์ประกอบที่  2  การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกเพิ่มในโรงเรียน
      3.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 – 4 เพาะพันธุ์พืช  นำไปปลูกและดูแลรักษาตามสวนพรรณไม้ 
      3.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 และ 6   จัดทำแผนผังพรรณไม้

   3.3 องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ
      3.3.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3   ศึกษาและบันทึกข้อมูลพรรณไม้ ( ก7 -003 )

   3.4 องค์ประกอบที่ 4  การรายงานผลการเรียนรู้
      3.4.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 – 3  ศึกษาพืชจาก   Project  approce  
      3.4.2 นักเรียนทุกระดับชั้น   เช่น   หนังสือ  แผ่นพับ   รายงาน   โครงงาน    ใบงาน   นิทรรศการ   ชิ้นงาน 
   การเสวนา  การเล่านิทาน    สัมมนา การแสดงศิลปะพื้นบ้าน  ละคร  ร้องเพลง  ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์
      3.4.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 , 6  เข้าค่ายบูรณาการสวนพฤกษศาสตร์ 1 วัน โดยใช้พืช 1 ชนิด            เป็นพืชศึกษาแล้วบูรณาการตามรายวิชา และจัดเป็นฐานการเรียนรู้
      3.4.4 บูรณาการในการเรียนการสอนในรายวิชา  นักเรียนทุกระดับชั้น 

   3.5 องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
      3.5.1 กิจกรรมศึกษาพืชจาก   Project  approce  นักเรียนชั้น อนุบาล 1 – 3
      3.5.2 กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์   นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกระดับชั้น
      3.5.3 กิจกรรมค่ายบูรณาการวิชาการสวนพฤกษศาสตร์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 , 6
   จำนวนรวม 639  คน