กลับสู่หน้าหลัก
 
อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
คลังข้อมูลพฤกษศาสตร์
wikibotany
บล็อกพันธุ์พรรณไม้
 
 

จากผลการดำเนินงาน  5 องค์ประกอบ  ของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และพืชศึกษา  ระยะเวลาตั้งแต่     19   พฤษภาคม 2553  ถึง 16  กุมภาพันธ์  2554   สรุปผลการศึกษาดังนี้
องค์ประกอบที่  1  การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้    ได้จัดทำป้ายชื่อพรรณไม้แบบสมบูรณ์ จำนวน  121  ป้าย  พืชจำนวน  121  ชนิด   นำป้ายชื่อติดตามต้นไม้ในบริเวณ  7  โซน   ดังนี้

รายการ/โซน

จำนวนป้าย
1. บริเวณสวนสมุนไพร
10
2. บริเวณรอบสนามกีฬาหน้าเสาธง
22
3. บริเวณสวนแม่พระ  ข้างสหการ  
21
4. บ้านหมอภาษา และบ้านนักพรต
9
5. บริเวณสวนระบบนิเวศ   และรอบๆอาคารเซนต์ไมเกิ้ล
6
6. บริเวณสวนเทิดพระเกียรติ  รอบวัดพระมารดานิจจานุเคราะห์
38
7. บริเวณลานจอดรถหลังวัด
15
ตารางที่ 6  แสดงจำนวนป้ายชื่อพรรณไม้แต่ละโซน

องค์ประกอบที่ 2  การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกเพิ่ม ปลูกและดูแลรักษาตามสวนพรรณไม้ โดยคณะบาทหลวงได้นำ
ไม้ต้นใหญ่เข้ามาปลูก  จำนวน  6   ต้น   พืช   5   ชนิด   ดังนี้

ชื่อพรรณไม้
จำนวน / ต้น
สถานที่ปลูก
1. หูกระจง
2
ปลูกคู่กันไว้ที่หน้าวัดพระมารดา ฯ   โซน   2 
2. มะกา
1
ปลูกบริเวณประตู   4    โซน  7
3. แคนา
1
ปลูกบริเวณประตู   4    โซน  7
4. พยุง
1
ปลูกบริเวณข้างลานจอดรถ  โซน  7
5. มะเกลือ
1
ปลูกบริเวณข้างลานจอดรถ หน้าอาคาร 3  โซน  7
ตารางที่ 7  แสดงจำนวนและสถานที่ปลูกพรรณไม้เพิ่มเติม

     การเพาะพันธุ์   พันธุ์ไม้ที่ได้จากการเพาะในกิจกรรมของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 , 6    เป็นไม้คาบปี  เช่น  กนกนารี   เดฟ  พลูด่าง  เป็นต้น    พืชที่นำเข้าปลูก มีจำนวน   150   ต้น
องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ    ได้ศึกษาและบันทึกข้อมูลพรรณไม้   ( ก7 -003 )   พืช  122  ชนิด โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้

      นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 – 3  ศึกษาพืชจาก   Project  approce  โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม   อนุบาลปีที่ 1 – 3   จำนวน  859  คน  แยกเป็น อนุบาล 1   คิดเป็นร้อยละ 33 อนุบาล 2   คิดเป็นร้อยละ   32 และ อนุบาล 3   คิดเป็นร้อยละ   34    แสดงเป็นแผนภูมิดังนี้


ตารางที่ 8  แสดงจำนวนนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม

     
     การบูรณาการในการเรียนการสอนในรายวิชาทุกกลุ่มสาระ  นักเรียนทุกระดับชั้น และนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปี่ที่ 3,6 
เข้าค่ายบูรณาการสวนพฤกษศาสตร์ 1วัน โดยใช้บูรณาการตามรายวิชา และจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้
   1.นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6    จำนวน  2,061 คน  แยกเป็น กลุ่มสาระภาษาไทย คิดเป็นร้อย
ละ 100  กลุ่มสาระคณิตศาสตร์  คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 31 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ คิดเป็นร้อยละ31 กลุ่มสาระการงาน อาชีพและเทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 100
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา คิดเป็นร้อยละ 15  และกลุ่มสาระศิลปะ (ดนตรี  นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์) คิดเป็นร้อยละ 13 
แสดงเป็นแผนภูมิ  ดังนี้


ตารางที่ 9  แสดงจำนวนนักเรียน ป. 1 – 6 ที่ร่วมกิจกรรม

  2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6   จำนวน  889 คน แยกเป็น กลุ่มสาระภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 0 ลุ่มสาระคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 0  กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  คิดเป็นร้อยละ0 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 56 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ คิดเป็นร้อยละ0 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 74   กลุ่มสาระสุขศึกษา
และพลศึกษา   คิดเป็นร้อยละ0  และกลุ่มสาระศิลปะ (ดนตรี  นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์ ) คิดเป็นร้อยละ 87  แสดงเป็นแผนภูมิ  ดังนี้


ตารางที่ 10  แสดงจำนวนนักเรียน   ม. 1 – 6     ที่ร่วมกิจกรรม


วิจารณ์ผลการศึกษา
:
                                    

    การศึกษาในครั้งนี้  ผลการดำเนินงานองค์ประกอบที่   1 –  5   มีเป้าหมายการดำเนินงานคะแนนสูงสุดของเกณฑ์ การตรวจ
ประเมินสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 50  ของนักเรียนทั้งหมด จำนวน  3,931 คน   จากการรวบข้อมูลด้านปริมาณได้มากกว่า
ร้อยละ 50    และจาการสังเกตนักเรียนมีจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พืชพรรณมากขึ้น ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้ี้ถือว่าได้ผ่านเกณฑ์
ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพการศึกษาการดำเนินสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนพระมารดานิจจานุุเคราะห์ ได้ศึกษาทั้ง 5
องค์ประกอบ   ซึ่งการศึกษายังไม่ครอบคลุมและยังไม่สมบูรณ์ในบางเรื่อง เช่น  การบันทึกข้อมูลพรรณไม้ การเก็บตัวอย่าง
พรรณไม้แห้งหรือดอง  การเขียนรายงาน และด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น  
และการดำเนินงานควรดำเนินงาน โดยแต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินงานและคณะอนุกรรมการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
ไม่กระทบต่องานหรือกิจกรรมหลักของโรงเรียน  ไม่ควรแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการชุมชน จะทำการประสาน
งานหรือการเรียกประชุมทำได้ยากการดำเนินงานก็จะล่าช้าไม่ทันต่อช่วงเวลาของการเปิดเรียน  ส่วนเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน
ควรกำหนดขึ้นและแยกออกจากชั่วโมงเรียนปกติ ถ้าศึกษาไม่เสร็จก็ให้ศึกษาต่อเนื่องนอกเวลาเรียน เช่น จัดกิจกรรมค่ายบูรณาการ
โดยให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการศึกษาในทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง และศึกษาพืชที่กำหนด แล้วนำไปศึกษาต่อเนื่องจนเสร็จและ
ควรอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด  เพื่อให้อยู่ในช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนและมีเวลาในการเขียนสรุป   โดยไม่กระทบกับงานหลัก
ของโรงเรียน   เป็นต้น